2. มีทฤษฎีอะไรบ้างที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ และแต่ละทฤษฎีเป็นอย่างไร
สุรางค์ โค้วตระกูล (2552 : 185)
ทฤษฎีการเรียนรู้พฤติกรรมนิยม ซึ่งแบ่งพฤติกรรมของมนุษย์เป็น 2 ประเภท คือ
- พฤติกรรมเรสปอนเดนต์ หมายถึง พฤติกรรมที่เกิดขึ้นโดยสิ่งเร้า เมื่อมีสิ่งเร้าพฤติกรรมตอบสนองก็จะเกิดขึ้น ซึ่งสามารถจะสังเกตได้
- พฤติกรรมโอเปอแรนต์ เป็นพฤติกรรมที่บุคคลหรือสัตว์แสดงพฤติกรรมตอบสนองออกมา (Emitted) โดยปราศจากสิ่งเร้าที่แน่นอน และพฤติกรรมนี้มีผลต่อสิ่งแวดล้อมพื้นฐานความคิดของพฤติกรรมนิยม คือ
- พฤติกรรมทุกอย่างที่เกิดขึ้นโดยการเรียนรู้และสามารถจะสังเกตได้
- พฤติกรรมแต่ละชนิดเป็นผลรวมของการเรียนที่เป็นอิสระหลายอย่าง
- แรงเสริม (Reinforcment) ช่วยทำให้พฤติกรรมเกิดขึ้นได้
นุชลี อุปภัย (2551 : 134)
ทฤษฎีการเรียนรู้ตามแนวคิดเชื่อมโยงสัมพันธ์ ทฤษฎีนี้กล่าวถึงการเรียนรู้หรือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไว้ว่า เกิดจากการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของสองสิ่งที่ปรากฏขึ้นพร้อมกันหรือใกล้เคียงกันจนทำให้บุคคลเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองสิ่งนั้นเข้าด้วยกันโดยอัตโนมัติ
ปรียาพร วงค์อนุตรโรจน์ (2540 : 36)
ทฤษฎีการเรียนรู้ของฮอล์ ฮอล์เชื่อว่าการที่มนุษย์และสัตว์จะเกิดการเรียนรู้ได้ต้องมีการสร้างแรงขับ (Drive) ได้แก่ ความหิวกระหาย เป็นต้น เขากล่าวว่า การแสดงพฤติกรรมการเรียนรู้มากหรือน้อยเกิดจากผลคูณระหว่างแรงขับ กับอุปนิสัยของบุคคลนั้นเมื่อได้รับการเสริมแรง
สรุป ทฤษฎีที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ก็จะมี
ทฤษฎีการเรียนรู้พฤติกรรมนิยม อาจแบ่งได้ 2 ประเภท คือ พฤติกรรมที่ตอบสนองต่อสิ่งเร้าแบบสังเกตได้ กับพฤติกรรมที่ตอบสนองต่อสิ่งเร้าไม่สามารถสังเกตได้
ทฤษฎีการเรียนรู้ตามแนวคิดเชื่อมโยง คือ พฤติกรรมที่เกิดจากการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของสองสิ่งที่ปรากฏขึ้นพร้อมกันหรือใกล้เคียงกัน ทำให้บุคคลเชื่อมโยงสองสิ่งอย่างอัตโนมัติ
ทฤษฎีการเรียนรู้ของฮอล์ ซึ่งเชื่อว่า มนุษย์และสัตว์ เกิดความหิวกระหาย หรืออาการอยากต่างๆ นั้น เกิดจากแรงขับ
บรรณานุกรม
สุรางค์ โค้มตระกูล. จิตวิทยาการศึกษา. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พิมพ์ครั้งที่ 8.
2552.
นุชลี อุปภัย. จิตวิทยาการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 1. กันยายน 2551.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. จิตวิทยาการศึกษา. ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพฯ. พิมพ์ครั้งที่ 1. 2540.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น