วันอังคารที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2553

รูปแบบของสื่อหลายมิติในการเรียนการสอนประกอบด้วยอะไรบ้าง

รูปแบบของสื่อหลายมิติในการเรียนการสอนประกอบด้วยอะไรบ้าง
                มีการสำสื่อหลายมิติเข้ามาใช้ในการเรียนการสอนในรูปของบทเรียนหลายมิติขึ้น โดยการผลิตเนื้อหาหรือเรื่องราวต่างๆ ที่จะใช้สอนในลักษณะสื่อหลายมิติ โดยการใช้ภาพถ่าย ภาพเคลื่อนไหวและเสียงต่างๆ บรรจุลงไปในบทเรียนหลายมิติ
                ประโยชน์และลักษณะของบทเรียนหลายมิติ
                1)  เรียกดูความหมายของคำศัพท์
                2)  ขยายความเข้าใจ เนื้อหาโดย ดูแผนภาพ หรือภาพวาด ภาพถ่าย ฟังคำอธิบาย ฟังเสียงดนตรี เป็นต้น
                3)  ใช้สมุดบันทึกที่มีอยู่ในโปรแกรมบันทึกใจความสำคัญ
                4)  ใช้เครื่องมือวาดภาพในโปรแกรมวาดแผนที่มโนทัศน์ของตน
                5)  สามารถเชื่อมโยงข้อมูลต่างๆ ที่สนใจมาอ่านได้โดยสะดวก
                6)  ใช้แผนที่ระบบดูว่าขณะนี้กำลังเรียนอยู่ส่วนใดของบทเรียน

                สื่อหลายมิติแบบปรับตัว หมายถึง ความสัมพันธ์กันระหว่างสื่อหลายมติติกับรูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียน ซึ่งปกติสื่อหลายมิติจะนำเสนอข้อมูลสารสนเทศที่เป็นเนื้อหา ลิงค์ หรืออื่นๆ ที่ออกแบบสำหรับผู้เรียนทุกคน แต่ในความเป็นจริงแล้วผู้เรียนแต่ละคนมีความต้องการที่แตกต่างกันในการรับข้อมูลจากสื่อหลายมติ ดังนั้นสื่อหลายมิติแบบปรับตัว จึงเป็นการผสมผสานระหว่างสื่อหลายมติและระบบการสอนที่ฉลาดในการตอบสนองผู้เรียนแต่ละคน โดยสื่อหลายมติแบบปรับตัวเป็นการพยายามที่จะพัฒนารูปแบบให้สามารถปรับตัวและตอบสนองผู้เรียนเป็นรายบุคคล

                สื่อหลายมิติแบบปรับตัว (Adaptive Hypermedia) หมายถึง ความสัมพันธ์กัน ระหว่างสื่อหลายมิติกับรูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียน สื่อหลายมิติแบบปรับตัวจึงเป็นการผสมผสานระหว่างสื่อหลายมิติและระบบการสอนที่ฉลาดในการตอบสนองผู้เรียนแต่ละคน ซึ่งเป็นการพยายามที่จะพัฒนารูปแบบ (Model) ให้สามารถปรับตัวและตอบสนองผู้เรียนเป็นรายบุคคล

                สรุป รูปแบบของสื่อหลายมิติในการเรียนการสอนก็อาจจะเป็นการผลิตเนื้อหาหรือเรื่องราวต่างๆ ที่จะสอนในลักษณะสื่อหลายมิติ หรืออาจะเป็น สื่อหลายมิติแบบปรับตัว เป็นการเชื่อมความสัมพันธ์กันระหว่างสื่อหลายมิติกับรูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียน เพราะผู้เรียนแต่ละคนมีการตอบสนองไม่เหมือนกัน


 
บรรณานุกรม

สื่อประสม คืออะไร

สื่อประสม คืออะไร
                สุดใจ  เหง้าสีไพร (2549:7) หมายถึง การนำสื่อหลายอย่างหรือหลายประเภท ซึ่งอาจเป็นวัสดุ อุปกรณ์และ/หรือวิธีการ ที่มีคนส่งเสริมซึ่งกันและกันมาทำหน้าที่ร่วมกันโดยมีสื่อหนึ่งอาจทำหน้าที่เร้าความสนใจ ในขณะที่สื่อหนึ่งช่วยอธิบายข้อเท็จจริงของเนื้อหาและอีกสื่อหนึ่งทำหน้าที่ตรวจสอบ ประเมิน หรือทบทวนความรู้ เป็นต้น
                วรวิทย์  นิเทศศิลป์ (2551:23) หมายถึง การนำสื่อที่หลากหลายที่มีความสัมพันธ์กันมีคุณค่าในตัวของมันเอง สื่อบางชนิดใช้ในการนำเข้าสู่บทเรียนได้ดี สื่อบางชนิดใช้เพื่อก่อให้เกิดความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง จะช่วยให้ตัวผู้เรียนมีประสิทธิภาพ มีประสบการณ์จากประสาทสัมผัสที่ผสมผสานกัน การใช้สื่อประสมถือว่าเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาอย่างหนึ่ง
                กิดานันท์  มลิทอง (2540:255) หมายถึง การนำสื่อหลายๆ ประเภทใช้ร่วมกันทั้งวัสดุ อุปกรณ์และวิธีการ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดในการเรียนการสอน โดยการใช้สื่อแต่ละอย่างตามลำดับขั้นตอนของเนื้อหา และในปัจจุบันมีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ร่วมกันด้วยเพื่อการผลิตหรือการควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ในการเสนอข้อมูลทั้ง ตัวอักษร ภาพกราฟิก ภาพเคลื่อนไหว แบบวิดีทัศน์ และเสียง

                สรุป สื่อประสม คือ
                การนำสื่อหลายประเภทมาผสมผสานกัน ซึ่งอาจเป็นวัสดุ อุปกรณ์ / วิธีการ ซึ่งสื่อที่หลากหลายที่มีความสัมพันธ์กันมีคุณค่าในตัวของมันเอง การใช้สื่อประสมก็เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดในการเรียนการสอน













บรรณานุกรม

สุดใจ  เหง้าสีไพร. สื่อการเรียนการสอน หลักการและทฤษฎีพื้นฐานสู่การปฏิบัติ.
ศูนย์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรจน์. พิมพ์ครั้งที่ 1 2549.
วรวิทย์  นิเทศศิลป์. สื่อและนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้. พิมพ์ครั้งที่ 1 : 2551
กิดานันท์  มลิทอง. เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิมพ์ครั้งที่ 1 : 2540

สื่อการสอน คืออะไร

สื่อการสอน คืออะไร
                ชม  ภูมิภาค (2549:3) กล่าวว่า เป็นส่วนหนึ่งของเทคโนโลยีการสอน เป็นพาหนะที่จะนำสาระหรือความรู้ไปยังผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
                ชัยยงค์  พรหมวงศ์ (2549:3) กล่าวว่า เป็นวัสดุ (สิ่งสิ้นเปลือง) อุปกรณ์ (เครื่องมือที่ไม่ผุพังง่าย) และวิธีการ (กิจกรรมเกม การทดลอง ละคร ฯลฯ) ที่ใช้เป็นสื่อกลางให้ผู้สอนส่งหรือถ่ายทอดความรู้ เจตคติ (อารมณ์ แม่นยำ) ไปยังผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                เปรื่อง  กุมุท (2549:3) กล่าวว่า คือสิ่งต่างๆ ที่ใช้เป็นเครื่องมือหรือช่องทางสำหรับทำให้การสอนของครูถึงผู้เรียน และทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่ครูวางไว้
                สิกขาบัณฑิต (2549:3) กล่าวถึง คือวัสดุ เครื่องมือ และ/หรือวิธีการที่จะนำหรือถ่ายทอดสารไปยังผู้รับ

                สรุป สื่อการสอนคือ
                เป็นสิ่งที่ช่วยในการจัดกระบวนการเรียนรู้ จากการเรียนการสอน ซึ่งสื่อการสอน อาจจะเป็น วัสดุ อุปกรณ์ หรืออาจเป็นวิธีการก็ได้ เช่น การทดลอง ซึ่งเป็นสิ่งที่สามารถถ่ายทอดความรู้จากผู้สอนสู่ผู้เรียน

















บรรณานุกรม

สุดใจ  เหง้าสีไพร. สื่อการเรียนการสอน หลักการและทฤษฎีพื้นฐานสู่การปฏิบัติ.
ศูนย์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรจน์. พิมพ์ครั้งที่ 1 2549.


เทคโนโลยีสารสนเทศที่มีบทบาทในการศึกษามีอะไรบ้าง และแต่ละอย่างเป็นอย่างไร

เทคโนโลยีสารสนเทศที่มีบทบาทในการศึกษามีอะไรบ้าง และแต่ละอย่างเป็นอย่างไร
                บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อการศึกษา
                1.  เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีส่วนช่วยเรื่องการเรียนรู้ ปัจจุบันมีเครื่องมือที่ช่วย
สนับสนุนการเรียนรู้ หลายด้าน มีระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) ระบบสนับสนุนการรับรู้ข่าวสาร เช่น การค้นหาข้อมูลข่าวสารเพื่อการเรียนรู้ใน World Wide Web เป็นต้น
                2.  เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาสนับสนุนการจัดการศึกษา โดยเฉพาะการจัดการศึกษาสมัยใหม่จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลข่าวสารเพื่อการวางแผน การดำเนินการ การติดตามและประเมินผลซึ่งอาศัยคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารโทรคมนาคมเข้ามามีบทบาทที่สำคัญ
                3.  เทคโนโลยีสารสนเทศกับการสื่อสารระหว่างบุคคล เช่น การใช้โทรศัพท์ โทรสาร ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เทเลคอมเฟอเรนซ์ เป็นต้น

                การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา ปัจจุบันประเทศต่างๆ รวมทั้งไทยได้มีกานำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศ มาใช้ประโยชน์ในวงการศึกษาเพิ่มมากขึ้น อันเนื่องมาจากการแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว ของอุปกรณ์และระบบเทคโนโลยีสารสนเทศประเภทต่างๆ อาทิเช่น ดาวเทียมสื่อสาร ใยแก้วนำแสง คอมพิวเตอร์ ซีดี-รอม มัลติมีเดีย อินเทอร์เน็ต ฯลฯ

                บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศ มีดังนี้
                งานด้านกิจกรรมบนเครือข่าย อาทิ การจัดทำเว็บไซต์ของโครงการเพื่อเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนและเรียนรู้ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ทางด้านการศึกษาให้แก่ โรงเรียน ครู อาจารย์ และนักเรียน รวมทั้งบุคคลทั่วไป
                -  งานพัฒนาเนื้อหาความรู้สำหรับครู และนักเรียน จัดทำโครงการพัฒนาห้องสมุดดิจิทัล (Digital Library) เพื่อเป็นการพัฒนาเนื้อหาความรู้สำหรับเครือข่ายเพื่อโรงเรียนไทย
                -  งานสัมมนาทางวิชาการ และการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ได้แก่ งานสัมมนา เปิดโลกหใม่การศึกษา School Net @ 1509: ตอน สัญจร 13 เขตการศึกษา
                -  งานพัฒนาบุคลากร โดยการจัดทำ โครงการอาสาสมัครในโครงการเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อ โรงเรียนไทย (School Net Volunteer)

                สรุป  เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาททางการศึกษา คือ จะช่วยในเรื่องของการเรียนรู้ การสื่อสารระหว่างบุคคล และการจัดการศึกษา และสามารถประยุกต์มาใช้งานในด้านต่างๆ อาทิเช่น งานด้านกิจกรรมบนเครือข่าย เนื้อหาความรู้สำหรับครู งานพัฒนาบุคลากร เป็นต้น


บรรณานุกรม

ศาสตราจารย์ ดร.ไพรัช  ชัชยพงษ์, ดร.พิเชฐ  ดุรงคเวโรจน์
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง

เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง
                คำว่า เทคโนโลยี หมายถึง การประยุกต์เอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ การศึกษาพัฒนาองค์ความรู้ต่างๆ ก็เพื่อให้เข้าใจธรรมชาติ กฎเกณฑ์ของสิ่งต่างๆ และหาทางนำมาประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ เทคโนโลยีจึงเป็นคำที่มีความหมายกว้างไกล เป็นคำที่เราได้พบเห็นและได้ยินอยู่ตลอดมา ส่วนคำว่า สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ มนุษย์แต่ละคนตั้งแต่เกิดมาได้เรียนรู้สิ่งต่างๆ เป็นจำนวนมาก เรียนรู้สภาพสังคมความเป็นอยู่ กฎเกณฑ์และวิชาการ ข้อมูลที่เก็บไว้ในสมองเป็นสิ่งที่สะสมกันมาเป็นเวลานาน ความรอบรู้ของแต่ละคนจึงขึ้นอยู่กับการเรียกใช้ข้อมูลนั้น ดังนั้นจะเห็นได้ชัด ความรู้เกิดจากข้อมูลข่าวสารต่างๆ ทุกวันนี้มีข้อมูลรอบตัวเรามาก ข้อมูลเหล่านี้มาจากสื่อ เช่นวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือแม้แต่การสื่อสารระหว่างบุคคล จึงมีผู้กล่าวว่ายุคนี้เป็นยุคของสารสนเทศ

                เทคโนโลยีสารสนเทศหมายถึง
                ตอบ หมายถึง เทคโนโลยีที่ใช้จัดการสารสนเทศ โดยใช้เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง การจัดหา วิเคราะห์ ประมวล จัดการและจัดเก็บ การพิมพ์ การสร้างรายงาน การเรียกใช้หรือแลกเปลี่ยนและเผยแพร่สื่อสารข้อมูล ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบของรูป เสียง ตัวอักษร หรือภาพเคลื่อนไหว รวมไปถึงการนำสารสนเทศและข้อมูลไปปฏิบัติตามเนื้อหาของสารสนเทศนั้นเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของผู้ใช้

                เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง เทคโนโลยีที่ใช้จัดสารสนเทศ เป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ การเก็บรวบรวมข้อมูล การประมวลผล การแสดงผลลัพธ์ การทำสำเนา และการสื่อสารโทรคมนาคม เพื่อให้ได้สารสนเทศที่เหมาะสมและสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้

                สรุป เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นการวิเคราะห์ ประมวลผล การจัดการและการจัดเก็บข้อมูล รวมไปถึงการที่นำเสนอข้อมูลทางเทคโนโลยีด้วยวิธีต่างๆ เช่น การพิมพ์ การสร้างรายงาน งานนำเสนอ ฯลฯ






บรรณานุกรม

http ://support. mot.go.th/nct/techno.htm
http://www.chakkham.ac.th/technology/techno%201/c2-3.htm

เทคโนโลยี หมายถึง

เทคโนโลยี  หมายถึง
                Galbraith  (2540 : 4)  กล่าวว่า  เทคโนโลยีเป็นการใช้อย่างเป็นระบบของวิธีการทางวิทยาศาสตร์หรือความรู้ต่างๆ  ที่รวบรวมไว้  มาใช้อย่างเป็นระบบเพื่อนำไปสู่ผลในทางปฏิบัติ

                Good  (2540 : 4)  กล่าวว่า  เทคโนโลยีนั้นสามารถจำแนกได้ถึง 5  ความหมายดังนี้ คือ
1)      ระบบวิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับเทคนิค
2)      การนำเอาวิธีการทางวิทยาศาสตร์มาใช้เพื่อแก้ปัญหาในเชิงปฏิบัติ
3)      การจัดระบบของข้อเท็จจริงและหลักเกณฑ์ที่เชื่อถือได้ทั้งนี้เพื่อจุดประสงค์ในทางปฏิบัติและอาจรวมถึงหลักการต่างๆ  ที่ก่อให้เกิดผลทางการเรียนการสอนด้วย
4)      ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และวิธีระบบที่ใช้ในอุตสาหกรรมศิลป์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการประยุกต์ใช้ในโรงงานต่างๆ
5)      การนำเอาความรู้ด้านตรรกศาสตร์  คณิตศาสตร์  และวิทยาศาสตร์มาใช้เพื่อทำให้เกิดความเจริญทางด้านวัตถุ

Dale  (2540 : 4)  กล่าวว่า  เทคโนโลยีประกอบด้วยผลรวมของการทดลองเครื่องมือและกระบวนการ  ซึ่งสิ่งทั้งหลายเหล่านี้เกิดจากการเรียนรู้  ทดลอง  และได้รับการปรับปรุงแก้ไขมาแล้ว

สรุป  เทคโนโลยี  หมายถึง
                เครื่องมือและกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์หรือความรู้ต่างๆซึ่งสิ่งทั้งหลายเหล่านี้เกิดจากการเรียนรู้  ทดลอง  และได้ทำการแก้ไขปรับปรุงมาแล้ว  ทำให้เกิดความสะดวกสบาย











บรรณานุกรม

กิดานันท์   มลิทอง. เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิมพ์ครั้งที่ 1. 2540.
ปรียาพร  วงศ์อนุตรโรจน์. จิตวิทยาการศึกษา. ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพฯ. พิมพ์ครั้งที่ 1. 2540.รียนรู้  ทดลอง  และไร์หรือความรู้ต่างๆซึ่งส่ง้ไขมาแล้ว
ริญทางด้านวัตถุลักการต่างๆ  ที่ก่อให้เกิดผลทาง


นวัตกรรมทางการศึกษา คืออะไร

นวัตกรรมทางการศึกษา  คืออะไร
                ทอมัส   ฮิวส์  (1976 : 258)  ให้ความหมายของนวัตกรรมว่าเป็นการนำนวัตกรรมใหม่ๆ  มาปฏิบัติหลังจากได้ผ่านการทดลองหรือได้รับการพัฒนาเป็นขั้นๆ
                แมทธิว   ไมลล์  (1971 : 258)  กล่าวถึงนวัตกรรมไว้ในเรื่อง  Innovation  in Education ว่านวัตกรรม  หมายถึง  การเปลี่ยนแปลงแนวคิดอย่างถี่ถ้วน  การเปลี่ยนแปลงให้ใหม่ขึ้น  เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้เป้าหมายเห็นว่าเป้นของใหม่
                บุญเกื้อ   ควรหาเวช  (2540 : 28)  กล่าวไว้ว่า  เป็นการนำเอาสิ่งใหม่ๆ  ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ  รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษาเพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
                สุภากร  ราชากรกิจ  (2540 : 28)  กล่าวว่า  หมายถึง  ทางด้านการศึกษามีการคิดค้นและทดลองหาวิธีการใหม่ๆ  หรือปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้การศึกษามีประสิทธิภาพสูงขึ้น

                สรุป  นวัตกรรมทางการศึกษา  คือ
                เป็นสิ่งใหม่อาจเป็นแนวคิด  การกระทำ  สิ่งประดิษฐ์  ที่คิดค้นมาใหม่หรือปรับปรุง ปรับเปลี่ยนสิ่งเดิมๆ  ทางการศึกษา ให้เกิดสิ่งใหม่และมีประสิทธิภาพทางการศึกษามากยิ่งขึ้นกว่าเดิมที่มีอยู่แล้ว
















บรรณานุกรม

บุญเกื้อ   ควรหาเวช. นวัตกรรมการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 4 (ปรับปรุงใหม่). กรุงเทพฯ.
สุภากร   ราชากรกิจ. นวัตกรรมทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ. 2537.
วรวิทย์   นิเทศศิลป์. สื่อและนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้. สกายบุ๊ก. พิมพ์ครั้งที่ 1. 2551.

นวัตกรรมคืออะไร

 นวัตกรรมคืออะไร
                ความหมายของนวัตกรรม  (Innovation)
                บุญเกื้อ   ควรหาเวช  (2540 : 26)  ได้ให้ความหมายของนวัตกรรมไว้ว่าเป็นการนำสิ่งใหม่ๆ  เข้ามาเปลี่ยนแปลง  เพื่อเติมวิธีการที่ทำอยู่เดิม  เพื่อให้ใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น
                สุภาภร   ราชากรกิจ  (2537 : 26)  ได้กล่าวถึงนวัตกรรมว่า  เป็นการปฏิบัติหรือกรรมวิธีที่นำเอาวิธีการใหม่มาใช้หรือการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงวีทำสิ่งต่างๆ  ให้ดีกว่าเดิม
                กิดานันท์   มลิทอง  (2540 : 26)  ได้กล่าวไว้ว่า  นวัตกรรม  คือ  แนวคิดการปฏิบัติ  หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ  ที่ยังไม่เคยมีการใช้มาก่อน  หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงจากของเดิมที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น  เมื่อนำนวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดี  มีประสิทธิภาพและประสิทธิภาพสูงกว่าเดิม  ทั้งยังช่วยประหยัดเวลาและแรงงาน

                สรุป  นวัตกรรม  คือ
                เป็นการนำสิ่งใหม่ หรือปรับเปลี่ยนสิ่งที่มีอยู่แล้ว  ประดิษฐ์ใหม่ให้ทันสมัยและมีประสิทธิภาพมากขึ้น  ด้วยกรรมวิธีต่างๆ  เพื่อให้ได้สิ่งใหม่


















บรรณานุกรม

บุญเกื้อ   ควรหาเวช. นวัตกรรมการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 4 (ปรับปรุงใหม่). กรุงเทพฯ.
กิดานันท์   มลิทอง. เทคโนโลยีการศึการ่วมสมัย. ภาควิชาโสตทัศน์ศึกษา  คณะครุศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ธันวาคม  2540.
สุภากร   ราชากรกิจ. นวัตกรรมทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ. 2537.

2. มีทฤษฎีอะไรบ้างที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ และแต่ละทฤษฎีเป็นอย่างไร

2. มีทฤษฎีอะไรบ้างที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ และแต่ละทฤษฎีเป็นอย่างไร
สุรางค์ โค้วตระกูล (2552 : 185)
ทฤษฎีการเรียนรู้พฤติกรรมนิยม ซึ่งแบ่งพฤติกรรมของมนุษย์เป็น 2 ประเภท คือ
  1. พฤติกรรมเรสปอนเดนต์ หมายถึง พฤติกรรมที่เกิดขึ้นโดยสิ่งเร้า เมื่อมีสิ่งเร้าพฤติกรรมตอบสนองก็จะเกิดขึ้น ซึ่งสามารถจะสังเกตได้
  2. พฤติกรรมโอเปอแรนต์ เป็นพฤติกรรมที่บุคคลหรือสัตว์แสดงพฤติกรรมตอบสนองออกมา (Emitted) โดยปราศจากสิ่งเร้าที่แน่นอน และพฤติกรรมนี้มีผลต่อสิ่งแวดล้อมพื้นฐานความคิดของพฤติกรรมนิยม คือ
    1. พฤติกรรมทุกอย่างที่เกิดขึ้นโดยการเรียนรู้และสามารถจะสังเกตได้
    2. พฤติกรรมแต่ละชนิดเป็นผลรวมของการเรียนที่เป็นอิสระหลายอย่าง
    3. แรงเสริม (Reinforcment) ช่วยทำให้พฤติกรรมเกิดขึ้นได้

นุชลี อุปภัย (2551 : 134)
ทฤษฎีการเรียนรู้ตามแนวคิดเชื่อมโยงสัมพันธ์ ทฤษฎีนี้กล่าวถึงการเรียนรู้หรือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไว้ว่า เกิดจากการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของสองสิ่งที่ปรากฏขึ้นพร้อมกันหรือใกล้เคียงกันจนทำให้บุคคลเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองสิ่งนั้นเข้าด้วยกันโดยอัตโนมัติ

ปรียาพร วงค์อนุตรโรจน์ (2540 : 36)
ทฤษฎีการเรียนรู้ของฮอล์ ฮอล์เชื่อว่าการที่มนุษย์และสัตว์จะเกิดการเรียนรู้ได้ต้องมีการสร้างแรงขับ (Drive) ได้แก่ ความหิวกระหาย เป็นต้น เขากล่าวว่า การแสดงพฤติกรรมการเรียนรู้มากหรือน้อยเกิดจากผลคูณระหว่างแรงขับ กับอุปนิสัยของบุคคลนั้นเมื่อได้รับการเสริมแรง

สรุป ทฤษฎีที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ก็จะมี
ทฤษฎีการเรียนรู้พฤติกรรมนิยม อาจแบ่งได้ 2 ประเภท คือ พฤติกรรมที่ตอบสนองต่อสิ่งเร้าแบบสังเกตได้ กับพฤติกรรมที่ตอบสนองต่อสิ่งเร้าไม่สามารถสังเกตได้
ทฤษฎีการเรียนรู้ตามแนวคิดเชื่อมโยง คือ พฤติกรรมที่เกิดจากการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของสองสิ่งที่ปรากฏขึ้นพร้อมกันหรือใกล้เคียงกัน ทำให้บุคคลเชื่อมโยงสองสิ่งอย่างอัตโนมัติ
ทฤษฎีการเรียนรู้ของฮอล์ ซึ่งเชื่อว่า มนุษย์และสัตว์ เกิดความหิวกระหาย หรืออาการอยากต่างๆ นั้น เกิดจากแรงขับ


บรรณานุกรม

สุรางค์ โค้มตระกูล. จิตวิทยาการศึกษา. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พิมพ์ครั้งที่ 8.
2552.
นุชลี อุปภัย. จิตวิทยาการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 1. กันยายน 2551.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. จิตวิทยาการศึกษา. ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพฯ. พิมพ์ครั้งที่ 1. 2540.

วันจันทร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2553

ทฤษฎีการเรียนรู้เป็นอย่างไร

1.  ทฤษฎีการเรียนรู้เป็นอย่างไร
                ทฤษฎีการเรียนรู้ (Leaning  theory) การเรียนรู้ คือกระบวนการที่ทำให้คนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมความคิด คนสามารถเรียนรู้ได้จากการได้ยิน การสัมผัส การอ่าน การใช้เทคโนโลยี การเรียนรู้ของเด็กและผู้ใหญ่จะต่างกัน เด็กจะเรียนรู้ด้วยการเรียนในห้อง การซักถาม ผู้ใหญ่มักเรียนรู้ด้วยประสบการณ์ที่มีอยู่ แต่การเรียนรู้จะเกิดขึ้นจากประสบการณ์ที่ผู้สอนนำเสนอ โดยการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนและผู้เรียน  ผู้สอนจะเป็นผู้ที่สร้างบรรยากาศจิตวิทยาที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้  ที่จะให้เกิดขึ้นเป็นรูปแบบใดก็ได้  เช่น  ความเป็นกันเอง  ความเข้มงวดกวดขัน  หรือความไม่มีระเบียบวินัย  สิ่งเหล่านี้ผู้สอนจะเป็นผู้สร้างเงื่อนไขและสถานการณ์ก็เรียนรู้ให้กับผู้เรียน  ดังนั้น  ผู้สอนจะต้องพิจารณาเลือกรูปแบบการสอน  รวมทั้งการสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน

                การเรียนรู้ หมายถึง  การเปลี่ยนพฤติกรรม  ซึ่งเป็นผลเนื่องมาจากประสบการณ์ที่คนเรามีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม  หรือจากการฝึกหัดรวมทั้งการเปลี่ยนปริมาณความรู้ของผู้เรียน งานที่สำคัญของครูก็คือช่วยนักเรียนแต่ละคนให้เกิดการเรียนรู้หรือมีความรู้  และทักษะตามที่หลักสูตรได้วางไว้  ครูมีหน้าที่จัดประสบการณ์ในห้องเรียน  เพื่อจะช่วยให้นักเรียนเปลี่ยนพฤติกรรมตามวัตถุประสงค์ของแต่ละบทเรียน

                การเรียนรู้  หมายถึง  กระบวนการ  (Process)  ที่อินทรีย์มีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปอย่างถาวรหรือค่อนข้างถาวร  อันเนื่องมาจากประสบการณ์หรือการฝึกหัดที่เรียกว่าเป็นกระบวนการ  เพราะการเรียนรู้ต้องอาศัยระยะเวลาในการก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม 
ลักษณะที่สำคัญอีกประการหนึ่งของการเรียนรู้คือจะต้องเป็นปฏิสัมพันธ์กันระหว่างเหตุการณ์ 2 อย่าง คือ
                1)  เหตุการณ์ที่เป็นสิ่งเร้า  (Stimulus Events)
                2)  การตอบสนอง  (Response events)

สรุป  ทฤษฎีการเรียนรู้  หมายถึง  กระบวนการที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนทางพฤติกรรม อาจเกิดขึ้นจากการเรียนรู้ด้วยวิธีต่างๆ  เช่น  การสัมผัส  การอ่าน  การใช้เทคโนโลยี  การซักถาม  และอาจเกิดจากประสบการณ์ของตนเอง  เมื่อมีสิ่งเร้าจะเกิดการตอบสนอง

บรรณานุกรม

Pirun.ku.ac.th/~g4786027/download/…1/content121.1.1.doc